วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หนทางสู่นักพากย์ ตอน 1

"Q&A สำหรับผู้มีความประสงค์จะเป็นนักพากย์"

หลังจากลองอ่านดู ก็พบว่ามันเป็น Q&A (ถาม-ตอบ) ที่น่าสนใจไม่น้อย
ก็เลยคิดว่าน่าจะเอามาเผยแพร่ให้แฟนๆ บล็อกได้อ่านกันบ้างดีกว่า

Q&A ชุดนี้ประกอบไปด้วยคำถาม-คำตอบ 3 Part ครับ
ผู้เขียนขอตัดแบ่งเป็น ส่วน เอนทรี่ทยอยลงทีละส่วนก็แล้วกัน

ส่วนที่ 1

声優になるためにはどうすれば良いでしょうか?
ต้องทำยังไงถึงจะเป็นนักพากย์ได้ ? -

Q1 - อยากจะเป็นนักพากย์ แต่พ่อแม่คัดค้าน ควรจะทำอย่างไรดี?
ไม่น่าจะต้องถาม ถ้าอยากเป็นนักพากย์จริงๆ ละก็ลองเกลี้ยกล่อมพ่อแม่ดู
ถ้าไม่สำเร็จ จะล้มเลิกหรือสานต่อความฝันก็ตามสะดวก อย่างไรก็ตาม
ถ้ายังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ต้องได้การรับรองจากผู้ปกครองก่อนครับ
Q2 - ถ้าเดินทางเข้าโตเกียวไม่ได้ ก็เป็นนักพากย์ไม่ได้หรือคะ?
ของตายครับ
งานของนักพากย์ทำกันในโตเกียวเท่านั้น ถ้าเข้ามาไม่ได้ก็ทำงานไม่ได้
Q3 - หนูเป็นเด็ก ม.ต้น อยากจะเป็นนักพากย์ตอนนี้เลย ....
ถ้าจะเริ่มตั้งแต่ ม.ต้น ละก็ ให้เข้าวงการดาราเด็ก
แล้วรับการฝึกสอนการแสดง เริ่มสตาร์ทจากบทดาราเด็กก่อนครับ
Q4 - อยากเป็นนักพากย์ มีมหาลัยไหนดีๆ แนะนำไหมครับ?
ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสอนเกี่ยวกับนักพากย์หรอกครับ
การเป็นนักพากย์่ไม่ใช่แค่ว่าเรียนตามบทเรียนแล้วก็จะเป็นได้
Q5 - งั้นก็หมายความว่าถึงเข้ามหาวิทยาลัยไปก็เป็นนักพากย์ไม่ได้?
ก็ไม่ใช่อีกนั่นละครับ การเข้าเรียกมหาลัยจะช่วยเสริมความรู้
และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น งานนักพากย์จำเป็นต้องอาศัยความรู้หลายแขนง
ศึกษาจากมหาลัยก็โอเคอยู่ ถ้าเป็นได้ก็เลือกคณะเกี่ยวกับการแสดง หรือภาษาดีกว่าครับ
Q6 - งั้นถ้าเป็นกรณีที่เข้าเรียนมหาลัย
ควรจะเริ่มงานนักพากย์ในขณะอยู่ในช่วงเรียนเลยดีมั้ยคะ?
นั่นน่ะสิครับ นอกจากเรียนมหาลัยแล้ว
ควรจะได้รับการฝึกฝนในฐานะนักแสดงด้วย
ซึ่งก็คือควรจะเริ่มกิจกรรมเกี่ยวกับการแสดงควบคู่ไปด้วยครับ
Q7 - เรียนจบแค่ ม.ปลาย จะเป็นนักพากย์ได้หรือไม่?
ได้แน่นอนครับ แต่ว่าถ้าไม่ใส่ใจการเรียนแล้วอ่านตัวคันจิไม่คล่อง
หรือไม่มีความสามารถด้านภาษา ก็จะลำบากครับ
Q8 - อยากพากย์แต่เสียงตัวละครในอนิเม
ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องความสามารถด้านภาษานี่ครับ?
งานนักพากย์จะได้รับแจกหนังสือบทเอาวันที่อัดเสียง
แล้วพากย์สดๆ ตอนนั้นเลย จึงจำเป็นต้องมีความสามารถ
ในการจับประเด็นหลักของบทได้ ณ เดี๋ยวนั้น
อีกอย่างหนังสือบทไม่มีการเขียนเสียงอ่านกำกับตัวคันจิไว้ ต้องอ่านให้ออกเอง
และเข้าใจความหมายของคำทั้งหมดนั้นด้วยครับ
Q9 - มีโรงเรียนที่สอนการเป็นนักพากย์โดยเฉพาะอยู่หรือเปล่าคะ?
โรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีมากมาย
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรียนจบออกมาแล้วจะเป็นนักพากย์ได้เสมอไป
อย่างไรก็ตาม โรงเรียนเหล่านั้นจะสอนพื้นฐานทั้งหมดเกี่ยวกับงานสตูดิโอ
ก็คงเรียกได้ว่าเป็นโรงเรียนสำหรับการเตรียมเป็นนักพากย์ละครับ
Q10 - เผอิญว่าสามารถหาห้องอัดเสียงที่ใช้อัดเสียงอนิเมใช้ได้
ควรจะเข้าไปศึกษาเลยดีไหมครับ?
ไม่ควรครับ การศึกษาเป็นนักพากย์มีขั้นตอนของมันเองอยู่
ก็เหมือนนักศึกษาแพทย์ที่จู่ๆ จะไปศึกษาเรื่องผ่าตัดเลยไม่ได้นั่นละ ก่อนอื่นขอให้เริ่มจากการฝึกฝนพื้นฐานการเป็นนักแสดงก่อนครับ


Q11 - ถ้าเรียนการแสดงจบออกมาแล้ว
มีอะไรยืนยันว่าจะเป็นนักพากย์ได้หรือไม่?
ไม่มีหรอกครับ นี่เป็นโลกของความสามารถ
ผู้ที่มีพรสวรรค์ย่อมเป็นผู้ชนะ เป็นโลกแห่งการแข่งขันชิงชัย
ถ้าอยากทำงานที่มีเครื่องยืนยันก็ไปเป็นข้าราชการเถอะ
Q12 - การทดสอบเข้าเรียนมีอัตราการรับเท่าไหร่หรือครับ?
แตกต่างกันไปแต่ละที่ และก็แต่ละปีครับ
น่าจะประมาณ ต่อ 1.5 หรือ ต่อ กระมัง

Q13 - จะพากย์เสียงอนิเม ทำไมต้องศึกษาการแสดงด้วยครับ?
เวลาเราดูอนิเม การที่ตัวละครในเรื่องแสดงท่าทีต่างๆ นั้น
ย่อมมีแรงผลักดันการกระทำเหมือนมนุษย์ปุถุชนจริงๆ ที่มีชีวิตจิตใจ
นักพากย์แต่ละคนมีหน้าที่ใส่วิญญาณลงไปในตัวละครที่ว่างเปล่าเหล่านั้น
จนกลายเป็นตัวตนที่มีชีวิตจิตใจขึ้นมา ไม่ใช่ว่าแค่ใส่เสียงลงไปในภาพ
แต่มันเป็นเรื่องของพลังแห่งการแสดงครับ

Q14 - ถึงจะพยายามอุตสาหะแค่ไหน
แต่ถ้าไม่มีพรสวรรค์ก็เป็นนักพากย์ไม่ได้หรือคะ?
ของตายครับ คนที่มีพรสวรรค์หากได้รับการฝึกฝน
ย่อมเจียรนัยออกมาเป็นเพชรที่สุกสกาวได้ในที่สุด
คนที่ไม่มีพรสวรรค์ถึงจะพยายามแค่ไหน ก็ไม่สามารถฉายแสงออกมาได้
Q15 - แล้วทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าตนเองมีพรสววรค์หรือไม่?
เป็นคำถามที่ตอบยากครับ ขึ้นอยู่กับความสามารถการใช้ภาษา เซนส์ด้านเสียง ของแบบนี้คงต้องให้นักพากย์ผู้มีประสบการณ์ช่วยชี้แนะให้
จะให้ตัวเองตัดสินเองก็คงจะลำบากครับ
Q16 - การทดสอบความสามารถด้านการใช้ภาษา
เป็นการทดสอบแบบไหนหรือคะ?
ก่อนอื่นเริ่มจากการอ่านออกเสียง
เพื่อทดสอบความเข้าใจรูปประโยค การออกเสียง และแอ็คเซนส์ต่างๆ
ต่อมาก็เป็นการอ่านตามบท เพื่อให้รู้ความสามารถในการแสดงอารมณ์ครับ


Q17 - การทดสอบเซนส์เรื่องเสียง เป็นแบบไหนหรือคะ?
การอ่านหนังสือบทหรือการแสดงตามบทนั้น
เซนส์เกี่ยวกับจังหวะ (Rhythm) จะโคน (Tempo) คือสิ่งสำคัญ
การทดสอบอ่านออกเสียงจะทำให้รู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้
ถ้าลองใช้เครื่องให้จังหวะ (Metronome) ประกอบการออกเสียง
จะยิ่งทำให้รู้ได้ว่าร่างกายมีความเข้าใจถึงเซนส์ทางเสียงมากน้อยเพียงใด



หมด Q&A ส่วนที่ แต่เพียงเท่านี้
ฟังดูโหดร้ายเอาเรื่องใช่ไหมครับ?
Q&A ตัวนี้เหมือนจะต้องการบอกกลายๆ ว่า
"ถ้าไม่เอาจริง อย่าได้เสนอหน้าเข้ามาในวงการเลยก็ไม่ผิด
ช่างเป็นโลกที่โหดร้าย ไม่สวยหรูอย่างที่เราๆ เคยคาดคิดไว้เลยจริงๆ


ตอนหน้ามาพบกับ Q&A ส่วนที่สองที่มีชื่อหัวข้อว่า

私は声優なれますか?
อย่างฉันจะเป็นนักพากย์ได้หรือเปล่า -กันครับ





เครดิต iitaihaudai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น